แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน TPACK Model ตอนที่ 4

ความรู้ในเนื้อหาผนวกเทคโนโลยี
(Technological Content Knowledge: TCK)



อนุศร  หงษ์ขุนทด
9/08/2558
                            
 musicmankob@gmail.com  

   จากตอนที่แล้วได้กล่าวถึง ความรู้ในวิธีการสอนผนวกเทคโนโลยี (Technological Pedagogical Knowledge) หรือ TPK  เป็นส่วนที่คาบเกี่ยวกันระหว่าง ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Technological Knowledge: TK) และความรู้ด้านวิธีการสอน (Pedagogical Knowledge: PK) ในตอนนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงความรู้ในเนื้อหาผนวกเทคโนโลยี  (Technological Content Knowledge: TCK) หรือในส่วนที่เรียกว่า TCK


     ความรู้ในเนื้อหาผนวกเทคโนโลยี (Technological Content Knowledge) หรือ TCK หมายถึง การผสมผสานกันระหว่างความรู้ ความชำนาญเกี่ยวการใช้กับเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีของผู้สอนเพื่อนำมาปรับใช้กับความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านเนื้อหาวิชาที่ผู้สอนมี หรือได้รับมอบหมายให้ทำการสอนในรายวิชา หรือเรื่องต่างๆ ที่ต้องการสอน ซึ่ง TCK ดังกล่าวเป็นการผสมผสานที่ต้องมีความลงตัวระหว่างการใช้งานเทคโนโลยีของตัวผู้สอนเองกับวิธีการที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งผ่านเนื้อหาต่างๆ ไปยังผู้เรียน ให้ได้รับความสะดวกในการเรียนเพื่อใช้สำหรับการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส ไม่ว่าจะเป็นในด้านเครื่องมือต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน(Smart Phone) หรือแท็บเล็ต(Tablet) รวมไปถึงสื่อโซเชียลมีเดีย(Social Media) ต่างๆ ดังนั้น ผู้สอนควรต้องมีความเชี่ยวชาญ หรือชำนาญการใช้เทคโนโลยีอยู่ในขั้นที่ดีพอสมควร 





     จากภาพประกอบแสดงให้เห็นถึงลำดับขั้นตอนในการออกแบบพิจารณาความรู้ในเนื้อหาผนวกเทคโนโลยี (Technological Content Knowledge: TCK) หรือ TCK ดังนั้นผู้สอนควรพิจารณาตนเองว่ามีความสามารถใช้เทคโนโลยีในด้านใดได้บ้าง เช่น การนำ Google for Education  Office 365 for Education หรืออาจจะเป็นสื่อจากห้องเรียน DLIT ที่มีเนื้อหาและเทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวางแผน การจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาฯ การจัดการเรียนการสอนเพิ่มเติม หรือแม้กระทั้งการสอบ ซึ่งเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีประสิทธภาพในการนำไปใช้งาน ดังนั้นการนำสื่อเทคโนโลยีต่างๆ มาพิจารณาประยุกต์ใช้กับเนื้อหาสาระวิชาที่ผู้สอนมีอยู่ รวมไปถึงความต้องการที่จะนำไปใช้ในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้เรียนจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอยู่มากพอสมควร


สรุป
       
       ขั้นตอนในการออกแบบพิจารณาความรู้ในเนื้อหาผนวกเทคโนโลยี (Technological Content Knowledge: TCK) หรือ TCK ที่เป็นความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจากผู้สอน  โดยผู้สอนต้องมีความรู้และมีความสนใจที่จะนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ด้านการศึกษามาประยุกต์ใช้เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ของผู้สอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหา ระดับการศึกษาของผู้เรียนและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ รวมไปถึงผู้สอนต้องมี CK ที่หมายถึงความรู้ในเนื้อหาสาระ แนวคิด หลักการ รวมทั้งเจตคติที่ดีจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาเรียบเรียงลำดับของเนื้อหาเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อพร้อมที่จะถ่ายทอดไปยังผู้เรียน ได้หลากหลายวิธีเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนมีความสะดวกในการเรียนรู้มากที่สุด

   ครับในบทความนี้ก็ครบองค์ประกอบของ TPACK Model แล้วนะครับ โมเดลนี้เป็นขั้นตอนแรกสำหรับผู้สอนในการพิจารณาแนวทางการกำหนดกรอบพิจารณาศักยภาพการใช้เทคโนโลยี วิธีการสอน เนื้อหา 
สำหรับการเรียนแบบผสมผสาน (Blended Learning) ของตนเองซึ่งในภาพรวมยังมีอีกหลายประเด็นที่จะได้กล่าวถึงในบทความหน้าครับ  ขอขอบคุณทุกท่านที่สนใจและติดตามครับ หากมีข้อสงสัยหรือผิดพลาดประการใดโปรดแจ้งมาที่ musicmankob@gmail.com ครับ

  
  อ้างอิง

Koehler, M. and P. Mishra.  2008.  Introducing Tpack, น. 3-29.  ใน  AACTE Committee on       Innovation and Technology, eds.  Handbook of Technological Pedagogical Content Knowledge (Tpck) for Educators.  Routledge, New York; Washington, DC.

Koehler, M.J., P. Mishra and W. Cain.  2013.  “What Is Technological Pedagogical Content Knowledge.”  Journal of Education.  193(3): 13.

ที่มาของ ภาพประกอบ


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน TPACK Model ตอนที่ 1

แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน TPACK Model ตอนที่ 5

แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน TPACK Model ตอนที่ 2