แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน TPACK Model ตอนที่ 3

ความรู้ในวิธีการสอนผนวกเทคโนโลยี
(Technological Pedagogical Knowledge: TPK)


อนุศร  หงษ์ขุนทด
21/06/2558
                           
 musicmankob@gmail.com    

     จากตอนที่ 2 ได้กล่าวถึง ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอน (Pedagogical Content Knowledge: PCK) ในตอนที่ 3 นี้จะกล่าวถึง ความรู้ในวิธีการสอนผนวกเทคโนโลยี (Technological Pedagogical Knowledge) หรือ TPK  เป็นส่วนที่คาบเกี่ยวกันระหว่าง ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Technological Knowledge: TK) และความรู้ด้านวิธีการสอน (Pedagogical Knowledge: PK)

ความรู้ในวิธีการสอนผนวกเทคโนโลยี (Technological Pedagogical Knowledge)

        ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Technological Knowledge: TK) คือ ความรู้ความสามารถของผู้สอนที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้สื่ออุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ทั้งในเรื่องของซอร์ฟแวร์ (Software) และฮาร์ดแวร์ (Hardware) ต่างๆ รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เกี่ยวข้อง (Associated peripherals) เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องและมีความเหมาะสมกับเนื้อหาวิชาและผู้เรียน เช่น ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีจากเว็บ 2.0 (Web 2.0 tools) ต่างๆ เช่น Wiki, Blogs, Facebook เป็นต้น

        ความรู้ด้านวิธีการสอน (Pedagogical Knowledge: PK) คือ ความรู้ความสามารถของผู้สอนที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน หรือที่เกี่ยวกับวิธีการถ่ายถอดความรู้ไปสู่ผู้เรียน รวมไปถึงกลยุทธ์ หรือกระบวนการ การปฏิบัติ หรือวิธีการสอนทั้งในและนอกชั้นเรียน ในส่วนนี้ไม่ร่วมถึงทฤษฎีการศึกษา (Educational theories) และวิธีการประเมิน (Assessment methods) เช่น การเรียนการสอนโดยใช้วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – based Learning: PBL) วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – based Learning: PBL) การเรียนรูที่ใช้สมองเป็นหลัก (Brain – Based Learning) วิธีสอนแบบโครงงาน (Project Method) การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method) วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self-Study Method) เป็นต้น

     ดังนั้น TPK จึงหมายถึง ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเรียนและการสอนในรูปแบบต่างๆ 
เช่น การเรียนการสอนโดยใช้วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – based Learning: PBL) 
การเรียนรูที่ใช้สมองเป็นหลัก (Brain – Based Learning) วิธีสอนแบบโครงงาน (Project Method)  การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method) วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self-Study Method) ของผู้สอน โดยผู้สอนต้องพิจารณาขั้นตอนการออกแบบการเรียนการสอนจากความรู้ความเข้าใจที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยี (TK) เข้ามาในการจัดกระบวนการเรียนการสอน เพื่อเป็นช่องทางในการส่งผ่านความรู้ไปให้ผู้เรียนเพื่อศึกษาได้ด้วยตนเองผ่านวิธีการสอนต่างๆ ที่ผู้สอนได้เลือกและออกแบบการสอนไว้ 

     ดั้งนั้นผู้สอนจึงมีความจำเป็นต้องรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้สอนอย่างลึกซึ้ง รวมไปถึงข้อดี ข้อจำกัดของเทคโนโลยีนั้นๆ ว่ามีความเหมาะสมกับผู้เรียน หรือความยากง่ายในการพัฒนาและออกแบบเพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้หรือไม่ เช่น การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method) โดยผู้สอนได้ออกแบบให้ผู้เรียนได้ใช้ แท็บเล็ต เพื่อสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทำงานร่วมกันในชั้นเรียน 

     TPK จึงมีความสำคัญมากในการเลือกนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเฉพาะแอบพลิเคชั่น หรือโปรแกรมต่างๆ มีอยู่มากมาย ผู้สอนควรพึงระลึกอยู่เสมอว่าแอบพลิเคชั่น หรือโปรแกรมบางประเภท ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการศึกษา เช่น ชุดโปรแกรม Microsoft Office (Word, Power point, Excel) ที่ออกแบบมาเพื่อการทำธุรกิจ เป็นหลัก หรือ โปรแกรมที่ทำงานบนเว็บไซต์ต่างๆ เช่น บล็อก (Blog) เฟซบุ๊ก (Facebook) โซเชียลมีเดีย (Social Media) ต่างๆ 


     ดั้งนั้น TPK ควรมุ่งเน้นไปที่การกระบวนการประยุกต์ใช้ (Creative) จากเทคโนโลยีที่มีอยู่และควรค้นหาเทคโนโลยีด้วยมุมมองที่เปิดกว้างในการนำมาใช้งาน โดยคำนึงถึงความสามารถในการนำมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้สอน และเพื่อประโยชน์ของผู้เรียนโดยพิจารณาใช้เทคโนโลยีจากเครื่องมือที่ผู้เรียนมีอยู่ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เพื่อให้การกิจกรรมการเรียนรู้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นส่งผลให้ผู้เรียนมีความสนใจและตั้งใจที่จะเรียนรู้เนื้อหาจากเทคโนโลยีที่ผู้สอนนำมาใช้เพื่อความเข้าใจของผู้เรียน


สรุป

     ความรู้ในวิธีการสอนผนวกเทคโนโลยี (TPK) คือ ความรู้ความเข้าใจที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาในกระบวนการเรียนการสอน เพื่อเป็นช่องทางในการส่งผ่านความรู้ไปให้ผู้เรียนเพื่อศึกษาได้ด้วยตนเองผ่านวิธีการสอนต่างๆ การพิจารณาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีความรู้ในวิธีการสอนผนวกเทคโนโลยี (Technological Pedagogical Knowledge: TPK) มี 3 สิ่งที่ผู้สอนควรพิจารณา ดังนี้

        1. อะไรคือเทคโนโลยีที่จะนำมาประยุกต์ใช้ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งในห้องเรียน หรือจากนอกห้องเรียน 

2. วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบใดที่ท่านมีความถนัดและมีความรู้ความเข้าในวิธีการสอนนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียน หรือจากนอกห้องเรียน

3. ผลจากการพิจารณาความรู้ ความเข้าใจจากเทคโนโลยีและวิธีการจัดการเรียนการสอน สิ่งใดคือสิ่งที่ท่านพิจารณาเห็นถึงความเหมาะสมในการพิจารณานำทั้ง 2 สิ่งมาใช้ผสมผสานกันในการจัดการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียน หรือจากนอกห้องเรียน สำหรับใช้ในการส่งผ่านเนื้อหาความรู้ กิจกรรมไปยังผู้เรียน


     ครับในตอนที่ 3 นี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญในการพิจรณานำเทคโนโลยีมาใช้กับวิธีการจัดการเรียนการสอนครับ ข้อควรพิจารณาอีกสิ่งหนึ่งครับ คือการนำเทคโนโลยี และวิธีการสอนมาใช้นั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เหมือนกันทุกชั่วโมงครับ อาจพิจารณาใช้เป็นบางครั้ง บางชั่วโมงหรือเฉพาะบางกิจกรรม เน้นถึงความเหมาะสมจากบริบทของผู้เรียน เนื้อหา ความยากง่าย ระยะเวลา และความพร้อมของผู้เรียนเป็นหลักครับ  ในตอนหน้าจะกล่าวถึง ความรู้ในเนื้อหาผนวกเทคโนโลยี (Technological Content Knowledge) ครับ หากมีข้อสงสัยหรือผิดพลาดประการใดโปรดแจ้งมาที่ musicmankob@gmail.com ครับ


หากบทความนี้มีประโยชน์และต้องการนำไปใช้โปรดอ้างอิงตามนี้ครับ

อนุศร  หงษ์ขุนทด.  (2558).  ความรู้ในวิธีการสอนผนวกเทคโนโลยี (Technological Pedagogical Knowledge: TPK). (Online):  http://pitcforteach.blogspot.com/2015/06/tpack-model-3.html


อ้างอิง

ประหยัด จีระวรพงศ์.  2553.  “การบูรณาการไอซีทีสำหรับครู.”  วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.  12(2): 157-167.

Koehler, M. and P. Mishra.  2008.  Introducing Tpack, น. 3-29.  ใน  AACTE Committee on       Innovation and Technology, eds.  Handbook of Technological Pedagogical Content Knowledge (Tpck) for Educators.  Routledge, New York; Washington, DC.

Koehler, M.J., P. Mishra and W. Cain.  2013.  “What Is Technological Pedagogical Content Knowledge.”  Journal of Education.  193(3): 13.



ความคิดเห็น

  1. ได้ความรู้เพิ่มขึ้นครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ7 เมษายน 2563 เวลา 08:10

    ได้รับความรู้เพิ่มมากมายเลยค่ะ

    ตอบลบ
  3. เว็บไซต์ บล็อค สำหรับความรู้ทั่วไป เรื่องราวประจำวัน ไลฟ์ประจำวัน

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน TPACK Model ตอนที่ 1

แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน TPACK Model ตอนที่ 5

แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน TPACK Model ตอนที่ 2