แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน TPACK Model ตอนที่ 1

รูปแบบ TPACK


อนุศร  หงษ์ขุนทด
01/03/2015
musicmankob@gmail.com

    วันนี้อยากมาเล่าถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนของครูในยุคนี้สมัยนี้ครับ นักการศึกษาต่างๆ ได้กล่าวถึงแนวคิด ที่มีความจำเป็นสำหรับผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ที่ควรมี และต้องมีความเข้าใจครับ สิ่งที่ผมกำลังกล่าวถึงก็คือ TPACK Model ที่มีองค์ประกอบหลัก ๆ อยู่ 3 ส่วนที่ผู้สอนควรรู้และเข้าใจก่อนที่ จะออกแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนครับ โดยสามารถแบ่งออกแป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้ครับ 



กรอบแนวคิดรูปแบบ TPACK ดัดแปลงจาก ที่มา: (Koehler, M.  and P. Mishra, 2008)



          1. วามรู้ด้านเทคโนโลยี (Technological Knowledge) หรือ TK หมายถึง ความรู้ความสามารถของผู้สอนที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้สื่ออุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ทั้งในเรื่องของซอร์ฟแวร์ (Software) และ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ต่าง ๆ รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เกี่ยวข้อง (Associated peripherals) เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องและมีความเหมาะสมกับเนื้อหาวิชาและผู้เรียน เช่น ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีจากเว็บ 2.0 (Web 2.0 tools) ต่าง ๆ เช่น Wiki, Blogs, Facebook เป็นต้น

          2. ความรู้ด้านวิธีการสอน (Pedagogical Knowledge) หรือ PK หมายถึง ความรู้ความสามารถของผู้สอนที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน หรือที่เกี่ยวกับวิธีการถ่ายถอดความรู้ไปสู่ผู้เรียน รวมไปถึงกลยุทธ์ หรือกระบวนการ, การปฏิบัติ หรือวิธีการสอนทั้งในและนอกชั้นเรียน ในส่วนนี้ไม่ร่วมถึงทฤษฎีการศึกษา (Educational theories) และวิธีการประเมิน (Assessment methods) เช่น การเรียนการสอนโดยใช้วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – based Learning: PBL), วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – based Learning: PBL), การเรียนรูที่ใช้สมองเป็นหลัก (Brain – Based Learning), วิธีสอนแบบโครงงาน (Project Method), การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method), วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self-Study Method) เป็นต้น

          3. ความรู้ด้านเนื้อหา (Content Knowledge) หรือ CK หมายถึง สาระ, ข้อมูล, แนวคิด, หลักการที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาการในหลักสูตรที่ต้องการที่จะถ่ายทอดไปยังผู้เรียน เช่น คณิตศาสตร์, ภาษาไทย, วิทยาศาสตร์ หรือวิชาอื่น ๆ


    3 องค์ประกอบหลักนี้ เป็นส่วนที่สำคัญที่ ผู้สอนในยุคแห่งสังคมดิจิตอล ควรมี  ยังมีอีก 3 ส่วนประกอบย่อยๆ ที่สำคัญของ TPACK Model ที่ยังต้องกล่าวถึงครับ ในครั้งหน้า ผมจะมานำเสนอ  3 ส่วนที่เหลือครับ  วันนี้เอาเพียงเท่านี้ก่อน เขียนเยอะเดี๋ยวจะไม่อยากอ่านกันครับ หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ หรืออยากได้ส่วนไหนเพิ่มเติม ติดต่ได้ที่ ช่องทางนี้ครับ Musicmankob@gmail.com  และ ที่  https://www.facebook.com/21CPT



หากบทความนี้มีประโยชน์และต้องการนำไปใช้โปรดอ้างอิงตามนี้ครับ

อนุศร  หงษ์ขุนทด.  (2558).  ความรู้ในวิธีการสอนผนวกเทคโนโลยี (Technological Pedagogical     Knowledge: TPK). (Online):  http://pitcforteach.blogspot.com/2015/03/tpack-model.html


อ้างอิง
Koehler, M.  and P. Mishra.  2008.  Introducing Tpack, . 3-29.  ใน  AACTE Committee on Innovation and Technology, eds.  Handbook of Technological Pedagogical Content Knowledge (Tpck) for Educators.  Routledge, New York; Washington, DC.
Koehler, M.J., P. Mishra  and W. Cain.  2013.  What Is Technological Pedagogical Content Knowledge.  Journal of Education193(3): 13.

ความคิดเห็น

  1. ขอบคุณแนวคิดดี ๆ ที่สามารถนำไปใช้จริงได้ค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ7 เมษายน 2563 เวลา 08:08

    แนวคิดดีมากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  3. ขอบพระคุณนะคะสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ2 พฤษภาคม 2565 เวลา 12:54

    ขอบคุณนะคะสำหรับข้อมูลความรู้ค่ะ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน TPACK Model ตอนที่ 5

แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน TPACK Model ตอนที่ 2