บทความ

แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน TPACK Model ตอนที่ 5

รูปภาพ
แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน TPACK Model ตอนที่ 5 "แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบ STEM  ตามแนวคิด  TPACK Model" ดร.อนุศร  หงษ์ขุนทด Friday, June10, 2559                                musicmankob@gmail.com anusorn.h@dt.ac.th บทนำ                บทความนี้จะกล่าวถึงขั้นตอนการนำ TPACK ไปประยุกต์ใช้เป็นฐานในการคิดออกแบบการจัดการเรียนการสอน ซึ่งในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างการออกแบบ การเรียนการสอนด้วยวิธีการ แบบ S (Science) T (Technology) E (Engineering) M (Mathematics) หรือ STEM เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนต่อไป อะไรคือ TPACK             1.  ค วามรู้ด้านเทคโนโลยี  (Technological Knowledge)  หรือ  TK  หมายถึง ความรู้ความสามารถ ของผู้สอนที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้สื่ออุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ทั้งในเรื่องของซอร์ฟแวร์  (Software)  และ ฮาร์ดแวร์  (Hardware)  ต่าง ๆ รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เกี่ยวข้อง  (A ssociated peripherals)  เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องและมีความเหมาะสมกับเนื้อหาวิชาและผู้เรียน

กิจกรรมการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 2

รูปภาพ
กิจกรรมการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้โดยใช้แนวทางการเรียนรู้แบบผสมผสาน (ตอนที่ 2) ดร.อนุศร  หงษ์ขุนทด musicmankob@gmail.com บทนำ จากที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงแนวทางในการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามนโยบายของรัฐบาลไปแล้วในตอนที่ 1 ตอนที่ 2 นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงแนวทางในการการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเตรียมความพร้อม สำหรับนำไปใช้กับการเรียนรู้แบบผสมผสานพร้อมกับการอธิบายถึงแนวทางที่เป็นไปได้จริงและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนตามสภาพที่แท้จริงและการเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของผู้สอนต่อไป กิจกรรมการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โลกกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้านตลอดเวลา โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจโลกที่พัฒนาทั้งทางด้านวิชาชีพ และอุตสาหกรรม รวมไปถึงการแข่งขัน และความร่วมมือกันในระดับโลกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และขยายออกเป็นวงกว้าง ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของประชากรในประเทศเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงนี้จึงมีความจำเป็น คนที่มีความรู้ และมีทักษะในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการ

กิจกรรมการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

รูปภาพ
กิจกรรมการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โดยใช้แนวทางการเรียนรู้แบบผสมผสาน (ตอนที่ 1) (Moderate Class More Knowledge With Blended Learning)  ดร.อนุศร  หงษ์ขุนทด musicmankob@gmail.com       บทความนี้เกิดจากการที่ผู้เขียนได้รับทราบกรอบแนวทางนโยบายจากต้นสังกัด ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งกิจกรรม การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (Moderate Class More Knowledge) ผู้เขียนเห็นด้วยในหลักการนี้และเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์เป็นอย่างยิ่งกับผู้เรียนโดยตรง อันเนื่องมาจากแนวทางนี้เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องกับ แนวทางการการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ที่ให้ความอิสระกับผู้เรียนสำหรับใช้ในการเรียนรู้ตามความสนใจของผู้เรียน โดยได้รับการอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ จากผู้สอน ในบทความนี้ผู้เขียนจะอธิบายถึงความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรมและแนวทางในการจัดการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โดยใช้แนวทางการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) เพื่อเป็นอีกแนวทางหนึ่งเพื่อให้ผู้สอนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปรับใช้กับกิจกรรมนี้ต่อไป แนวคิดการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลาร

Key of Online Learning

รูปภาพ
หลัก 3 ประการของการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Key of Online Learning) อนุศร  หงษ์ขุนทด 30/09/2558                               musicmankob@gmail.com      บทความนี้จะกล่าวถึง หลัก 3 ประการในการเตรียมความพร้อมของผู้สอนในการเตรียมตัวสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) โดยเฉพาะการเรียนรู้แบบออนไลน์ (Online Learning) ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบหลักดังกล่าวนี้ เป็นส่วนที่สำคัญสำหรับผู้สอนในการนำมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) โดยเฉพาะโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในขณะนี้คือ ห้องเรียน DLIT, Google Apps for education, Office 365 ผู้สอนควรมีหลัก 3 ประการดังนี้ครับ หลัก 3 ประการของการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Key of Online Learning) 1. การเตรียมการเชิงรุก (Proactive)      1.1 ความรู้ความเข้าใจในหลักสูตร (Know your course) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานมาจากผู้เรียนที่ท่านได้ทำการสอนมาแล้ว เช่น ปัญหาในการสอน ปัญหาในการเรียน ข้อคำถาม ข้อเสนอแนะต่างๆ ในชั้นเรียนของท่าน เพื่อนำมาใช้เป็นหลักสูตรใ

แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน TPACK Model ตอนที่ 4

รูปภาพ
ความรู้ในเนื้อหาผนวกเทคโนโลยี (Technological Content Knowledge: TCK) อนุศร  หงษ์ขุนทด 9/08/2558                               musicmankob@gmail.com      จากตอนที่แล้วได้กล่าวถึง ความรู้ในวิธีการสอนผนวกเทคโนโลยี (Technological Pedagogical Knowledge) หรือ TPK  เป็นส่วนที่คาบเกี่ยวกันระหว่าง ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Technological Knowledge: TK) และความรู้ด้านวิธีการสอน (Pedagogical Knowledge: PK) ในตอนนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงความรู้ในเนื้อหาผนวกเทคโนโลยี  (Technological Content Knowledge: TCK) หรือในส่วนที่เรียกว่า TCK      ความรู้ในเนื้อหาผนวกเทคโนโลยี (Technological Content Knowledge) หรือ TCK หมายถึง การผสมผสานกันระหว่างความรู้ ความชำนาญเกี่ยวการใช้กับเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีของผู้สอนเพื่อนำมาปรับใช้กับความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านเนื้อหาวิชาที่ผู้สอนมี หรือได้รับมอบหมายให้ทำการสอนในรายวิชา หรือเรื่องต่างๆ ที่ต้องการสอน ซึ่ง TCK ดังกล่าวเป็นการผสมผสานที่ต้องมีความลงตัวระหว่างการใช้งานเทคโนโลยีของตัวผู้สอนเองกับวิธีการที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งผ่านเนื้อหาต่างๆ ไปยังผู้เรียน

แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน TPACK Model ตอนที่ 3

รูปภาพ
ความรู้ในวิธีการสอนผนวกเทคโนโลยี (Technological Pedagogical Knowledge: TPK) อนุศร  หงษ์ขุนทด 21/06/2558                              musicmankob@gmail.com          จากตอนที่ 2 ได้กล่าวถึง ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอน (Pedagogical Content Knowledge: PCK) ในตอนที่ 3 นี้จะกล่าวถึง ความรู้ในวิธีการสอนผนวกเทคโนโลยี (Technological Pedagogical Knowledge) หรือ TPK  เป็นส่วนที่คาบเกี่ยวกันระหว่าง ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Technological Knowledge: TK) และความรู้ด้านวิธีการสอน (Pedagogical Knowledge: PK) ความรู้ในวิธีการสอนผนวกเทคโนโลยี (Technological Pedagogical Knowledge)         ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Technological Knowledge: TK) คือ ความรู้ความสามารถของผู้สอนที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้สื่ออุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ทั้งในเรื่องของซอร์ฟแวร์ (Software) และฮาร์ดแวร์ (Hardware) ต่างๆ รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เกี่ยวข้อง (Associated peripherals) เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องและมีความเหมาะสมกับเนื้อหาวิชาและผู้เรียน เช่น ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในเ